รายงานสถานการณ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เรื่อง ข้อกำหนด ข้อปฏิบัติ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564

editor image

รายงานสถานการณ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

เรื่อง  ข้อกำหนด ข้อปฏิบัติ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564

 

จากมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ทางกรุงเทพมหานครบังคับใช้นั้น ได้มีการสั่งปิดหรือจำกัดการปฏิบัติงานของสถานประกอบการหลายประเภทเป็นการชั่วคราว โดยมีบางมาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมไมซ์โดยตรงหรือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการไมซ์เป็นการเฉพาะ ซึ่งสามารถรวบรวมและสรุปได้ดังนี้

 

ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ

เปิดดำเนินการจัดประชุม การแสดงสินค้า หรือการจัดนิทรรศการได้ โดยปฏิบัติตามมาตรการดังนี้

  1. 1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ และกำจัดขยะทุกวัน
  2. 2. ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
  3. 3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
  4. 4. เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
  5. 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมในงานแสดงสินค้า มิให้แออัด โดยพิจารณาจัดเป็นรอบเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในพื้นที่โดยรวมและพื้นที่คูหาแสดงสินค้า (เกณฑ์จำนวนผู้ร่วมกิจกรรมตามขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 ตารางเมตร ต่อคน)
  6. 6. เจ้าของสถานที่ หรือผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดกิจกรรม ลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนด
  7. 7. ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก จัดระบบคิวตามรอบงาน ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่รวมทั้งใช้ระบบเทคโนโลยีรองรับการจัดนิทรรศการ การแสดงสินค้าแบบออนไลน์ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ
  8. 8. มีมาตรการคัดกรองไข้ อาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าอาคาร และติดสัญลักษณ์ผ่านการคัดกรอง จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้ร่วมกิจกรรมมีอาการป่วย และมีระบบเก็บข้อมูล เพื่อติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกคน โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
  9. 9. จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคาร ศูนย์ประชุม พื้นที่จัดแสดงสินค้า นิทรรศการ ห้องสุขา โดยให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
  10. 10. งดเว้นการจัดการแข่งขัน กิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือการดำเนินงานอื่นใดที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
  11. 11. พิจารณาเหลื่อมเวลาเปิดและปิดการจัดแสดงสินค้า นิทรรศการ หรือจัดให้มีการรับส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อลดความแออัดของบริการขนส่งสาธารณะ และลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อ
  12. 12. พื้นที่รอเข้างานและพื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
  13. 13. จัดให้มีการให้คำแนะนำผู้ร่วมกิจกรรม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึง ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิดกัน โดยให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
  14. 14. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และระบบจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว

 

ห้องประชุมในโรงแรม หรือศูนย์ประชุม

เปิดดำเนินการได้โดยจำกัดจำนวนผู้ร่วมประชุมไม่เกิน 100 คน โดยปฏิบัติตามมาตรการดังนี้

  1. 1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ และกำจัดขยะทุกวัน
  2. 2. พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมประชุม ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาการประชุมและการให้บริการ
  3. 3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
  4. 4. ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดินอย่างน้อย 5 เมตร และกรณีที่นั่งเต็ม งดเสริมเก้าอี้ หรือยืนร่วมประชุม
  5. 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ และผู้ร่วมประชุมมิให้แออัด ทั้งพื้นที่รอเข้างาน จุดคัดกรองลงทะเบียน ประทับตราจอดรถ ประชาสัมพันธ์ บริการอาหาร เครื่องดื่ม
  6. 6. ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันทางโทรศัพท์ ตามที่ราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ได้
  7. 7. กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละสถานที่ไม่เกิน 100 คน
  8. 8. งดจัดงานเลี้ยงร่วมกับการประชุม อบรม สัมมนา ทั้งนี้ งดการพูดคุยเสียงดังในที่ประชุม
  9. 9. มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานบริการผู้ใช้บริการ และผู้เข้าร่วมประชุมก่อนเข้าอาคาร และติดสัญลักษณ์ผ่านการคัดกรอง จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้ร่วมประชุมมีอาการป่วย โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
  10. 10. จัดให้มีระบบเก็บข้อมูลและติดตามผู้เข้าร่วมประชุมได้ทุกคนหากพบผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการเข้าได้กับเกณฑ์สอบสวนโรคภายหลังการประชุม
  11. 11. งดให้ผู้ร่วมกิจกรรมตักอาหาร หรือรับเครื่องดื่มเอง ให้พนักงานบริการเสิร์ฟและสวม Face Shield ขณะให้บริการ
  12. 12. จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีภายในอาคาร ห้องประชุม และห้องสุขา
  13. 13. อาจจัดให้มีการรับ-ส่งผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะ
  14. 14. พื้นที่รอเข้างานและพื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
  15. 15. จัดให้มีการให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมประชุม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริหารและการจัดประชุม ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิด โดยให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
  16. 16. อาจจัดให้มีระบบลงทะเบียนเข้างานแบบออนไลน์ รวมทั้งระบบเทคโนโลยีรองรับสำหรับการประชุมออนไลน์

 

สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

จำกัดผู้ร่วมกิจกรรมไม่เกิน 100 คน งดดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยปฏิบัติตามมาตรการดังนี้

  1. 1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ รวมถึงห้องสุขา และให้กำจัดขยะทุกวัน
  2. 2. ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
  3. 3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เพียงพอ
  4. 4. ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนในพื้นที่โดยรอบห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
  5. 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด พิจารณาเพิ่มพื้นที่ทางเดินให้มีสัดส่วนมากขึ้น งดเว้นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้คนมาชุมนุม และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
  6. 6. ให้เจ้าของสถานที่ หรือผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดกิจกรรมลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนด
  7. 7. ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก จัดระบบคิวตามรอบงาน ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่รวมถึงบริเวณพื้นที่จัดงาน ให้พิจารณาใช้ระบบเทคโนโลยีรองรับสำหรับการจัดนิทรรศการ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ
  8. 8. มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการก่อนเข้าอาคาร และติดสัญลักษณ์ผ่านการคัดกรอง จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้ร่วมกิจกรรมมีอาการป่วยและมีระบบเก็บข้อมูล เพื่อติดตามผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกคน โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
  9. 9. จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมถึงห้องสุขา ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
  10. 10. พิจารณาจัดที่นั่งให้มีระยะห่างในลักษณะ 2 ที่นั่ง เว้น 1 ที่นั่ง เฉพาะสถานที่ที่มีการระบายอากาศดี
  11. 11. พื้นที่รอเข้างานและพื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร โดยทำสัญลักษณ์ให้ชัดเจน มีการจัดระเบียบก่อนเข้าและออกจากงาน เพื่อป้องกันผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
  12. 12. พิจารณาเหลื่อมเวลาการจัดเลี้ยง หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือจัดให้มีการรับและส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อลดความแออัดของการใช้ขนส่งสาธารณะ และลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อ
  13. 13. ให้คำแนะนำผู้ร่วมกิจกรรม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการและการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึง ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิด โดยให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
  14. 14. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ ระบบเข้าออกสถานที่โดยไม่แออัด และระบบจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว
  15. 15. ให้จัดอาหารแยกชุดสำหรับรับประทานคนเดียว

 

โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ

ปฏิบัติตามมาตรการดังนี้

  1. 1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนและหลังการให้บริการ รวมถึงห้องสุขา และให้กำจัดขยะทุกวัน
  2. 2. ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
  3. 3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เพียงพอ
  4. 4. ให้นั่งเว้นระยะ 1 ที่นั่ง หรือห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร เว้นแต่ผู้ที่มาด้วยกันให้นั่งติดกันได้
  5. 5. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัด งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือการดำเนินการที่เปิดโอกาสให้คนมาชุมนุม และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
  6. 6. ให้เจ้าของสถานที่ หรือผู้เช่าสถานที่ หรือผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดกิจกรรมลงทะเบียนและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนด
  7. 7. ให้มีการควบคุมทางเข้าออก จัดระบบคิวตามรอบฉาย และลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด เช่น ไทยชนะ หมอชนะ
  8. 8. มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการก่อนเข้าโรงภาพยนตร์ และติดสัญลักษณ์ผ่านการคัดกรอง จัดให้มีห้องแยกกรณีพบผู้ร่วมกิจกรรมมีอาการป่วยและมีระบบเก็บข้อมูล เพื่อติดตามผู้ใช้บริการได้ทุกคน โดยให้รายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
  9. 9. จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมถึงห้องสุขา ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
  10. 10. พื้นที่รอคิว จัดให้มีที่นั่งหรือยืนห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร โดยทำสัญลักษณ์ให้ชัดเจน มีการจัดระเบียบก่อนเข้าและออกจากโรงภาพยนตร์ เพื่อป้องกันผู้คนมาชุมนุมกันหนาแน่น และอาจเกิดภาวะไร้ระเบียบได้
  11. 11. ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการ ตรวจตรา ควบคุม กำกับการให้บริการอย่างทั่วถึง ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิด
  12. 12. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ ระบบเข้าออกสถานที่โดยไม่แออัด และระบบจองตั๋วแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว

 

สามารถศึกษาประกาศและข้อบังคับฉบับเต็มได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้

http://www.bangkok.go.th/main/page.php?&140-News&type=detail&id=761

สามารถตรวจสอบประกาศและมาตรการของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้

http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด/

 

อ้างอิง   ประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 30 มกราคม 2564

            http://www.bangkok.go.th/main/page.php?&140-News&type=detail&id=761

            http://www.moicovid.com/ข้อมูลสำคัญ-จังหวัด/

 

###

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 จากองค์การอนามัยโลก

https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports

ศูนย์ข้อมูลกรมควบคุมโรคติดต่อ โทร 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/news.php

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ โทร +66 (0) 2694 6000

https://www.businesseventsthailand.com/en/situation-update-coronavirus-covid-19 หรือ info@tceb.or.th

 

แชร์บทความ