เลือกประเทศไทย

(APR22) ศูนย์กลางธุรกิจไมซ์เอเชีย

editor image

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์เอเชีย ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ที่ตั้งของประเทศในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการวางโครงสร้างการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ที่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ วางกลยุทธ์ทำความร่วมมือกับพันธมิตรในพื้นที่ร่วมพัฒนาเมืองไมซ์ซิตี้ 10 แห่งประจำทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมจัดตั้งสำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการประจำภูมิภาค 4 ภาค ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในภูมิภาค สนับสนุนการจัดงานและผู้จัดงานไมซ์ในแต่ละภูมิภาคได้อย่างทั่วถึง พร้อมเดินหน้าลงทำงานเชิงรุกกระจายในพื้นที่ ตั้งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ไทยกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน หวังวางรากฐานไมซ์ไทยเพื่อก้าวขยายสู่การเป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ของเอเชีย โดยร่วมกับจังหวัด สมาคม หน่วยงาน และผู้ประกอบการในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด  เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างงานในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมปลดล็อคธุรกิจไมซ์ในสูตร “ฟื้นฟู สนับสนุน ส่งเสริม”  ชูเรื่องความปลอดภัยในการดันไมซ์ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์เอเชีย ชิงความได้เปรียบในทุกด้านเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ที่วันนี้ประเทศไทยมีศักยภาพความพร้อมสูงสุดในทุกด้าน

1. พื้นที่ยุทธศาสตร์  (Strategic Location) 

ประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมโยงประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชีย และมีเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างประเทศ มีการถ่ายเทสินค้า บริการ ฝีมือแรงงาน และการค้าการลงทุนระหว่างกัน ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประตูสู่อาเซียนและเอเซีย และเป็นประเทศฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญในอุตสาหกรรมหลักของโลก อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และไอที เป็นต้น 

  •   การส่งออก 

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2565 มีมูลค่า 21,258.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 708,312 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดที่ขยายตัวสูง 3 ลำดับแรก ได้แก่ อินเดีย รัสเซีย และสหราชอาณาจักร ส่วนปัจจัยที่สนับสนุนให้การส่งออกเพิ่มขึ้น มาจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชน ทั้งนี้ยังคงคาดการณ์การส่งออกตลอดทั้งปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3-4 ตามเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้   

  •   การลงทุนในประเทศ 

คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 44 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 5,781 ล้านบาท  รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันสิ่งอันตราย องค์ความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่ใช้สำหรับการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Broadband System) เป็นต้น โดยมีเงินลงทุนในพื้นที่ EEC กว่า 2,285 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39 ของเงินลงทุนทั้งหมด

  •  นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
    • ยกระดับสินค้าโอทอป นำนวัตกรรมพัฒนาสินค้า ขายตรงความต้องการตลาด เพิ่มรายได้ชุมชนในพื้นที่ อีอีซี โดยมีแนวทางดำเนินการ 2 รูปแบบ ได้แก่ ตั้งบรรษัทวิสาหกิจชุมชน (EEC EnterPrise) เช่น การลงทุนร่วมระหว่าง สกพอ. สำนักงานกองทุนหมู่บ้าน เอกชน ทำหน้าที่ วางแผนการผลิต การตลาดส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง และศูนย์พัฒนาธุรกิจชุมชน (EEC Incubation Center) ทำหน้าที่ ศึกษาวิจัย พัฒนาสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพ ในระดับมาตรฐานมีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ รวมทั้งฝึกอบรมบุคลากรให้ทำงานร่วมกับนวัตกรรมใหม่  
    • กำหนดสิทธิประโยชน์อีอีซี ในเขตส่งเสริมเศรษฐพิเศษ ก้าวสำคัญดึงลงทุนสู่พื้นที่ อีอีซี  ซึ่งเป็นการกำหนดสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมพิเศษ รวม 7 เขต ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์อีอีซี เน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้เกิดการลงทุนที่คล่องตัว เพื่อจูงใจนักลงทุนรายใหญ่เข้าสู่พื้นที่ อีอีซี ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า ได้ตามเป้าหมายของอีอีซี
    • เตรียมงานระดับโลก International Air Show โชว์ศักยภาพอุตสาหกรรมการบิน จูงใจการลงทุนสู่พื้นที่ อีอีซี เพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมธุรกิจการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานและจะส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาค ทำให้เกิดแรงจูงใจกับนักลงทุนและเชื่อมโยงนักธุรกิจในอุตสาหกรรมการบินระดับโลกเข้ามาลงทุนในเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก เกิดการเจรจาจับคู่ทางธุรกิจร่วมกัน เพิ่มการลงทุนเข้าสู่ในพื้นที่ อีอีซี ตามเป้าหมายเม็ดเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปี  ซึ่งเมื่อรวมมูลค่าทางเศรษฐกิจของงาน Thailand International Air Show ทั้งหมด คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้รวมให้แก่ประเทศ มากถึงประมาณ 8,200 ล้านบาท 
editor image

2. การเข้าถึงได้สะดวก  (Easy Access)

ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของเอเชีย ความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคระดับมาตรฐาน มีสนามบินทั่วประเทศจำนวน 38 สนามบิน โดยมี 7 สนามบินนานาชาติ พร้อมกันนี้ยังมีศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าทั้งหมด 9 แห่ง อีกทั้งยังมีไมซ์ซิตี้จำนวน 10 เมือง ได้แก่ กรุงเทพ ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา พิษณุโลก พัทยา ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และอุดรธานี พร้อมเพิ่มทางเลือกในการจัดกิจกรรมไมซ์หลากหลายรูปแบบ 

  •   สนามบินอู่ตะเภา 

สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง พัทยา ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 โดยใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ (Public Aerodrome Operating Certificate: PAOC) เป็นเอกสารที่ออกให้กับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสนามบินที่ได้รับอนุญาตในการเปิดให้บริการแก่สาธารณะ ทำให้สามารถยืนยันได้ถึงมาตรฐานความปลอดภัยของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง พัทยา นับเป็นสนามบินสาธารณะแห่งที่สองและสนามบินนานาชาติแห่งแรกที่ได้รับมอบใบรับรองนี้ภายใต้การพิจารณาด้วยกระบวนการใหม่ตามมาตรฐานสากล 

สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง พัทยา ปัจจุบันได้ให้บริการสาธารณะแก่อากาศยานภายในประเทศและต่างประเทศ และอยู่ระหว่างการพัฒนาภายใต้โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักของ Eastern Economic Corridor (EEC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง พัทยา เป็น “สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3" ที่เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี

  •   ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าในประเทศไทย 

โครงการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดโฉมใหม่ สู่การเป็น “The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All” ที่ครอบคลุมการจัดงานทุกรูปแบบ โดยเพิ่มพื้นที่จากเดิม 25,000 ตารางเมตร เป็น 300,000 ตารางเมตร หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่า พร้อมเปิดบริการเดือนกันยายน 2565 ประเดิมในฐานะสถานที่จัดงานที่ได้รับเลือกเป็นสถานที่จัด “งานประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซียแปซิฟิก หรือ APEC 2022” ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในเดือนพฤศจิกายน โดยในเดือนเมษายน 2565 มีความคืบหน้าในการก่อสร้างแล้วถึง 80%

editor image

เครดิตภาพ: QSNCC

  •   โครงการสำคัญ (Mega Project)

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการพัฒนาระบบรางระดับชาติตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) เป็นการผลักดันเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและการลงทุนหลักของประเทศ โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ที่จะเชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศยานหลักของประเทศ คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และนำความเจริญเติบโตเข้าสู่พื้นที่ EEC สร้าง New S-Curve ให้กับเศรษฐกิจของไทย คาดว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2569

editor image
เครดิตภาพ: https://www.hsr3airports.or.th/ 

3. การพัฒนาในประเทศไทย (New Development) 

  •   การพัฒนาด้านระบบคมนาคม

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มีระยะทางรวม 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างผสมระหว่างโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินและโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ โดยมีโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 11 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 17 สถานี โดยมีสถานีใต้ดิน 10 สถานี และมีสถานียกระดับ 7 สถานี โดยขณะนี้เซ็นสัญญาก่อสร้างงานโยธากับผู้ชนะประมูลเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปีพ.ศ. 2565 และจะเปิดให้บริการในปีพ.ศ. 2570 โดยเมื่อเปิดให้บริการจะทำให้รถไฟฟ้าสายสีม่วง มีระยะทางทั้งหมด 46.6 กิโลเมตร เป็นรถไฟฟ้าหลักที่เชื่อมต่อจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

editor image
เครดิตภาพ: MRTA

  •   การพัฒนาด้านเทคโนโลยี 

แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2564–2570) มุ่งเน้นโครงการนำร่องด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศ สำหรับโครงการระยะเร่งด่วนจะดำเนินการช่วง 2 ปีนี้ (พ.ศ. 2564-2565) มุ่งเน้นการเตรียมพร้อมกำลังคนด้าน AI ของประเทศไทย ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้นำร่องใน 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ด้านการแพทย์และสุขภาวะ การเกษตรและอาหาร และการใช้งานและบริการภาครัฐ โดยเน้นย้ำถึงการสร้างบุคลากรขึ้นมารองรับ เพื่อให้ AI ช่วยยกระดับมูลค่าของธุรกิจ หรือบริการที่ดีขึ้น โดยตั้งเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ AI ตามแผนงาน 7 ปี ว่าจะเกิดธุรกิจใหม่และนวัตกรรมบริการที่ใช้เทคโนโลยี AI เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 700 ราย ภายใน 7 ปี ตลอดจนยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเท 

  •   การพัฒนาด้านบุคลากร 

“เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยจะเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายในปี พ.ศ. 2570” โดยมีเป้าประสงค์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างคนและเทคโนโลยี การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างผลกระทบ (ที่ดี) ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ในด้านยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ 5 ด้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม  กฎหมาย และกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน

เลือกประเทศไทย

  • new-experience

    ประสบการณ์ใหม่

  • various-places

    หลากหลายสถานที่

  • full-service

    บริการครบวงจร

  • thai-identity

    เอกลักษณ์ไทย

  • connecting-hub

    ศูนย์กลางธุรกิจไมซ์เอเชีย