เลือกประเทศไทย

(JUL23) บริการครบวงจร

editor image

ด้วยการบริการครบวงจร (One Stop Service) ที่อำนวยความสะดวกการจัดงานไมซ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจไมซ์ไทย ตลอดจนอำนวยความสะดวกการจัดกิจกรรมไมซ์ได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเชื่อมโยงการให้บริการจัดงานไมซ์ด้วยระบบดิจิทัล ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้จัดงาน เจ้าของงาน และผู้เข้าร่วมงาน สามารถเข้าถึงข้อมูลและการบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ ส่งผลให้ไทยสามารถยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ก้าวสู่ระดับโลกต่อไปได้อย่างภาคภูมิ

1. การให้บริการที่สนามบิน (Service at the airport) 

การอำนวยความสะดวกให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทีเส็บมุ่งเน้นการบริการเพื่อสร้างความประทับใจและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์ของภูมิภาคเอเซียซึ่งนับเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจของผู้ประกอบการไมซ์ที่จะเลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานระดับโลก สร้างจุดเด่นและความประทับใจในการบริการต้อนรับนักเดินทางไมซ์จากทั่วทุกมุมโลก    

  1. การให้บริการข้อมูลการขอรับการตรวจลงตรา หรือการขอวีซ่าก่อนการเดินทาง
  2. การให้บริการไมซ์ เลน  (MICE LANE) เป็นการให้บริการตรวจคนเข้าเมืองในช่องทางพิเศษ
  3. การตรวจลงตราเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย (VISA On Arrival) 
  4. ด่านควบคุมโรคติดต่อ (Health Control) 
  5. เคาน์เตอร์ต้อนรับนักเดินทางกลุ่มไมซ์ (TCEB Information Center) เพื่อให้บริการข้อมูลและการให้ความช่วยเหลือ ณ สายพานรับกระเป๋าหมายเลข 18
  6. การให้บริการจุดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์งานไมซ์ในพื้นที่สนามบินโดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

2. โครงการประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย 2566

โครงการ “ประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย” เป็นโครงการสนับสนุนด้านงบประมาณให้แก่ผู้ประกอบการ และนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนที่มีแผนการจัดการประชุมองค์กร และการเดินทางเพื่อเป็นรางวัลในประเทศ โดยต้องมีการจัดกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมการประชุม (Meetings) กิจกรรมการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (Incentives) กิจกรรมสัมมนา (Seminars) กิจกรรมการอบรม (Training) กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) กิจกรรมพนักงานสัมพันธ์ (Outing) และกิจกรรมศึกษาดูงาน (Field trip) โดยการสนับสนุนมีเงื่อนไข 2 รูปแบบ คือ  

        1) งบสนับสนุนไม่เกิน 15,000 บาท ให้การสนับสนุนจำนวน 650 กลุ่ม สำหรับการจัดกิจกรรมเป็นระยะเวลา 1 วัน และ

        2) งบสนับสนุนไม่เกิน 30,000 บาท ให้การสนับสนุนจำนวน 350 กลุ่ม สำหรับการจัดกิจกรรมอย่างน้อย 2 วัน 1 คืน

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอรับการสนับสนุนได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 22 สิงหาคม 2566 โดยลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์ม THAI MICE CONNECT โดยจะต้องเลือกสถานที่จัดงานที่มีฐานข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com ของทีเส็บอย่างน้อย 1 แห่ง และการจัดกิจกรรมจะต้องมีจำนวนผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 30 คน ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมต้องจัดภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2566

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://meeting.thaimiceconnect.com/th/dmice/detail 

editor image

3. พัฒนาการจัดประชุมสู่มืออาชีพด้วยความยั่งยืน

สสปน. จัดกิจกรรมการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานไมซ์ (MICE Clinic) ซึ่งจัดโดยส่วนงานบริหารรัฐกิจวิสาหกิจ สสปน. ในหัวข้อ "พัฒนาการจัดประชุมสู่มืออาชีพด้วยความยั่งยืน" ในวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 4 อาคารศูนย์ฝึกอบรมสถาบันวิทยาการศุลกากร  โดยสถาบันฯ เป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก (WCO Regional Training Center) 

กรมศุลกากร เป็นหน่วยงานที่มีการจัดประชุมและสัมมนาระดับองค์กรภายในประเทศและระหว่างประเทศจำนวนมาก โดยแบ่งเป็นการประชุมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมถึงการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้จัดงาน จะสามารถนำองค์ความรู้ด้านการจัดงานแบบลดโลกร้อนไปใช้งานจริง วัดผลการเลี่ยงและลดคาร์บอนฟุตพรินต์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

 editor image 

เลือกประเทศไทย

  • new-experience

    ประสบการณ์ใหม่

  • various-places

    หลากหลายสถานที่

  • full-service

    บริการครบวงจร

  • thai-identity

    เอกลักษณ์ไทย

  • connecting-hub

    ศูนย์กลางธุรกิจไมซ์เอเชีย